วันอาทิตย์ที่ 19 กรกฎาคม พ.ศ. 2552

โครงการออกแบบที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม

ฟิลิปส์ เปิดโครงการ “ฟิลิปส์ เติมยิ้ม สิ่งแวดล้อม”

บริษัท ฟิลิปส์อิเล็กทรอนิกส์ (ประเทศไทย) จำกัด นำโดย คุณธนากร วงศ์วิเศษ ผู้จัดการทั่วไป ส่วนกิจการไฟฟ้าและอุปกรณ์แสงสว่าง จัดพิธีแถลงข่าวโครงการ “ฟิลิปส์ เติมยิ้ม สิ่งแวดล้อม” หรือ End of Life (EOL) เพื่อบริการจัดการหลอดฟลูออเรสเซนต์ที่หมดอายุอย่างถูกวิธี พร้อมนำเสนอผลิตภัณฑ์ทดแทนหลอดฟลูออเรสเซนต์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมให้กับผู้ประกอบการ เจ้าของกิจการ และเจ้าของโรงงาน พร้อมขยายบริการครอบคลุมทั่วประเทศ
ฟิลิปส์จึงได้จัดตั้งโครงการ “ฟิลิปส์ เติมยิ้ม สิ่งแวดล้อม” นำเสนอโซลูชั่นที่สามารถให้การบริการบริหารจัดการหลอดฟลูออเรสเซนต์ที่หมดอายุอย่างถูกวิธีด้วยวิธีการรีไซเคิล เพื่อเป็นการแยกวัสดุส่วนที่ไม่เป็นอันตรายและเป็นอันตรายออกจากกัน โดยวัสดุที่ไม่เป็นอันตรายยังเป็นประโยชน์สามารถนำไปทำการบำบัดเพื่อให้ได้วัสดุหมุนเวียนมาใช้ใหม่ได้เป็นการลดปริมาณการใช้ทรัพยากรธรรมชาติ เช่น เศษแก้ว และสามารถกำจัดและทำลายปริมาณขยะที่เป็นสารพิษและอันตรายได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งจะไม่มีความเสี่ยงในการกระจายของสารพิษสู่ธรรมชาติ
“เพื่อให้เป็นไปตามระเบียบข้อบังคับของกรมโรงงานอุตสาหกรรม และสอดคล้องกับหลักเกณฑ์การบริหารและอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมตามมาตรฐาน ISO 14001 ดังนั้น ธุรกิจขนาดใหญ่ ผู้ประกอบการอาคาร สำนักงาน และโรงงานอุตสาหกรรมต่างๆ จึงต้องการการบริหารจัดการหลอดฟลูออเรสเซนต์ชนิดตรงที่หมดอายุอย่างถูกวิธี ฟิลิปส์เล็งเห็นความสำคัญในการมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม และสนองความต้องการจากภาคธุรกิจและอุตสาหกรรม จึงได้กำหนดข้อเสนอโครงการ “ฟิลิปส์ เติมยิ้ม สิ่งแวดล้อม” ให้มีความเหมาะสมตรงต่อความต้องการของผู้ที่ต้องการเข้าร่วมโครงการ” คุณธนากร กล่าว
ภายใต้โครงการ “ฟิลิปส์ เติมยิ้ม สิ่งแวดล้อม” ผู้เข้าร่วมโครงการไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายในการขนส่งซากหลอดฟลูออเรสเซนต์ และค่าใช้จ่ายในกระบวนการบริหารจัดการซากหลอดฟลูออเรสเซนต์ด้วยการนำไปรีไซเคิล นอกจากนี้ฟิลิปส์ไม่ได้กำหนดจำนวนในการที่ผู้เข้าร่วมโครงการจะนำหลอดฟลูออเรสเซนต์มารีไซเคิล แต่ผู้เข้าร่วมโครงการจะต้องซื้อหลอดฟลูออเรสเซนต์ฟิลิปส์ในกลุ่มที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม (Green Lighting Products) นั่นคือ หลอดฟลูออเรสเซนต์ฟิลิปส์ซูเปอร์ขั้วเขียว หรือ ชุดประหยัดไฟ click-2-save เท่ากับจำนวนหลอดที่ต้องการนำไปรีไซเคิล ทั้งนี้เพื่อเป็นการส่งเสริมให้ผู้ประกอบการหันมาใช้หลอดที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม

----------------------------------------------------------------------------------------
การออกแบบเป็นชุดประกอบย่อยและลดการใช้สกรูของเครื่องคอมพิวเตอร์

ยังมีอีกหลายบริษัทที่ใช้การออกแบบเพื่อสิ่งแวดล้อมเช่น บริษัท BMW and Volkswagen ได้ศึกษาการถอดประกอบและการรีไซเคิลวัสดุในรถยนต์ที่สามารถนำกลับมาใช้ใหม่ได้ และได้ตั้งเป้าหมายว่าจะสร้างรถยนต์ด้วยชิ้นส่วนที่สามารถนำกลับมาใช้ใหม่และรีไซเคิลได้ให้ครบ 100 เปอร์เซ็นต์ บริษัท Sun Microsystems, Inc. มีรูปแบบการถอดประกอบชิ้นส่วนที่ง่ายหลากหลายรูปแบบและใช้พลาสติกรีไซเคิลในการผลิตภัณฑ์และยังได้จำกัดโลหะหนักออกจากพลาสติก บรรจุภัณฑ์ หมึกในการพิมพ์คู่มือของผลิตภัณฑ์ บริษัท General Motors Corp. ได้ร่วมกับมหาวิทยาลัยแทนเนสซีพัฒนาโปรแกรมเพื่อติดตามการใช้พลังงานและผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมของชิ้นส่วนทุกชิ้นในรถยนต์ตลอดช่วงอายุการใช้งานโปรแกรมนี้จะช่วยในการเปลี่ยนแปลงการออกแบบเพื่อทำให้ชิ้นส่วนง่ายต่อการรีไซเคิลหรือนำกลับมาใช้ใหม่

การออกแบบเพื่อสื่งแวดล้อมเป็นสิ่งที่ไม่อาจหลีกเลี่ยงได้ในอนาคต ดังนั้นเราจึงควรเตรียมตัวศึกษาและเรียนรู้ไว้แต่เนิ่นๆ เพื่อรับมือกับกฎระเบียบและข้อบังคับต่างๆ จากกลุ่มประเทศพัฒนา เพื่ให้อุตสาหกรรมการผลิตของเราสามารถยืนหยัดและแข่งขันในตลาดโลกได้

ไม่มีความคิดเห็น: