วันพุธที่ 2 กันยายน พ.ศ. 2552

งานออกแบบ สื่อถึงความเป็นไทย

วัดร่องขุ่น
สาร (messages)
วัดร่องขุ่น (Wat Rong Khun) ออกแบบและก่อสร้างโดยอาจารย์เฉลิมชัย โฆษิตพิพัฒน์ ซึ่งปรารถนาจะสร้างวัดให้เหมือนเมืองสวรรค์ที่มนุษย์สัมผัสได้ เริ่มสร้างตั้งแต่ พ.ศ. 2540 จากเดิมมีเนื้อที่ 3 ไร่ ได้ซื้อที่ดินเพิ่มและมีผู้บริจาคคือคุณวันชัย วิชญชาคร จนปัจจุบันมีเนื้อที่ 9 ไร่ และมีพระกิตติพงษ์ กัลยาโณ รักษาการเจ้าอาวาสองค์ปัจจุบัน







แนวความคิด (concept)
อาจารย์เฉลิมชัย โฆษิตพิพัฒน์ได้รับแรงบันดาลใจในการสร้างวัดมาจาก 3 สิ่งต่อไปนี้คือ
1. ชาติ : ด้วยความรักบ้านเมือง รักงานศิลป์ จึงหวังสร้างงานศิลปะที่ยิ่งใหญ่ไว้เป็นสมบัติของแผ่นดิน
2. ศาสนา : ธรรมะได้เปลี่ยนชีวิตของอาจารย์เฉลิมชัยจากจิตที่ร้อนกลายเป็นเย็น จึงขออุทิศตนให้แก่พระพุทธศาสนา
3. พระมหากษัตริย์ : จากการเข้าเฝ้าฯ ถวายงานพระองค์ท่านหลายครั้ง ทำให้อาจารย์เฉลิมชัยรักพระองค์ท่านมาก จากการพบเห็นพระอัจฉริยะภาพทางศิลปะและพระเมตตาของพระองค์ท่าน จนบังเกิดความตื้นตันและสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณ จึงปรารถนาที่จะสร้างงานพุทธศิลป์ถวายเป็นงานศิลปะประจำรัชกาลพระองค์ท่าน
รูปแบบการสื่อสาร (form) ออกแบบและก่อสร้างวัดโดยอาจารย์เฉลิมชัย โฆษิตพิพัฒน์ ซึ่งปรารถนาจะสร้างวัดให้เหมือนเมืองสวรรค์ที่มนุษย์สัมผัสได้
สื่อที่เลือกใช้ (media) ประติมากรรมและจิตรกรรม
วิธีการสื่อสาร (how to communicate) สื่อสารออกมาในรูปแบบของงานประติมากรรมและจิตรกรรม โดยทำผลงานออกมาเน้นไปทางด้านเอกลักษณ์ความเป็นไทย และ แนวทาง “พุทธศิลป์”
เป็นการสื่อสารแบบทางตรงหรือทางอ้อม (direct or indirect communication)
เป็นการสื่อสารทางตรงเพื่อเน้น ความเป็นไทยและแนวทาง “พุทธศิลป์”

กลุ่มเป้าหมาย (target group) นักท่องเที่ยวชาวไทยและต่างชาติ
ความเชื่อมโยงทางสังคม วัฒนธรรม ความเชื่อ เศรษฐกิจ การเมือง ฯลฯ (relationship)
รูปลักษณ์ “ความเป็นไทยแบบร่วมสมัย”นอกจากนั้นการร่วมและจัดตั้งกลุ่ม “ศิลปไทย 23” เพื่อต่อต้านกระแสวัฒนธรรมต่างชาติในปี 2523 ก็ทำให้ลักษณะการพูดจาอย่างไม่กลัวเกรงเป็นจุดเริ่มที่ติดตา และได้กลายเป็นการย้ำจุดยืนของเขาที่ชัดเจนในศิลปะไทยต่อสังคมในขณะนั้น
ผล (result)
ปัจจุบันมีนักท่องเที่ยว เมื่อเกือบ 2 ปีก่อนเฉลี่ยต่อเดือนอยู่ที่ 18,000 คน ก่อนที่จะเพิ่มขึ้นอีกเท่าตัวในปีที่แล้ว โดยคาดว่าปริมาณคนที่แห่เข้ามาชมผลงานจะมากขึ้นและเหยียบหลักแสนได้ภายในไม่กี่ปี ทำให้จำนวนนักท่องเที่ยวในจังหวัดเชียงรายเพิ่มขึ้นโดยเฉพาะชาวไทยที่ตั้งใจมาเยี่ยมชมผลงานของเฉลิมชัย ซึ่งสิ่งที่เขากล่าวถึงเสมอก็คือต้องการที่จะสร้างงานตลอดชีวิต เขาบอกว่าเกิดจากความต้องการที่จะสร้างงานระดับโลก ไม่ได้มีปัญหาเรื่องขาดเงิน

วันอาทิตย์ที่ 19 กรกฎาคม พ.ศ. 2552

โครงการออกแบบที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม

ฟิลิปส์ เปิดโครงการ “ฟิลิปส์ เติมยิ้ม สิ่งแวดล้อม”

บริษัท ฟิลิปส์อิเล็กทรอนิกส์ (ประเทศไทย) จำกัด นำโดย คุณธนากร วงศ์วิเศษ ผู้จัดการทั่วไป ส่วนกิจการไฟฟ้าและอุปกรณ์แสงสว่าง จัดพิธีแถลงข่าวโครงการ “ฟิลิปส์ เติมยิ้ม สิ่งแวดล้อม” หรือ End of Life (EOL) เพื่อบริการจัดการหลอดฟลูออเรสเซนต์ที่หมดอายุอย่างถูกวิธี พร้อมนำเสนอผลิตภัณฑ์ทดแทนหลอดฟลูออเรสเซนต์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมให้กับผู้ประกอบการ เจ้าของกิจการ และเจ้าของโรงงาน พร้อมขยายบริการครอบคลุมทั่วประเทศ
ฟิลิปส์จึงได้จัดตั้งโครงการ “ฟิลิปส์ เติมยิ้ม สิ่งแวดล้อม” นำเสนอโซลูชั่นที่สามารถให้การบริการบริหารจัดการหลอดฟลูออเรสเซนต์ที่หมดอายุอย่างถูกวิธีด้วยวิธีการรีไซเคิล เพื่อเป็นการแยกวัสดุส่วนที่ไม่เป็นอันตรายและเป็นอันตรายออกจากกัน โดยวัสดุที่ไม่เป็นอันตรายยังเป็นประโยชน์สามารถนำไปทำการบำบัดเพื่อให้ได้วัสดุหมุนเวียนมาใช้ใหม่ได้เป็นการลดปริมาณการใช้ทรัพยากรธรรมชาติ เช่น เศษแก้ว และสามารถกำจัดและทำลายปริมาณขยะที่เป็นสารพิษและอันตรายได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งจะไม่มีความเสี่ยงในการกระจายของสารพิษสู่ธรรมชาติ
“เพื่อให้เป็นไปตามระเบียบข้อบังคับของกรมโรงงานอุตสาหกรรม และสอดคล้องกับหลักเกณฑ์การบริหารและอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมตามมาตรฐาน ISO 14001 ดังนั้น ธุรกิจขนาดใหญ่ ผู้ประกอบการอาคาร สำนักงาน และโรงงานอุตสาหกรรมต่างๆ จึงต้องการการบริหารจัดการหลอดฟลูออเรสเซนต์ชนิดตรงที่หมดอายุอย่างถูกวิธี ฟิลิปส์เล็งเห็นความสำคัญในการมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม และสนองความต้องการจากภาคธุรกิจและอุตสาหกรรม จึงได้กำหนดข้อเสนอโครงการ “ฟิลิปส์ เติมยิ้ม สิ่งแวดล้อม” ให้มีความเหมาะสมตรงต่อความต้องการของผู้ที่ต้องการเข้าร่วมโครงการ” คุณธนากร กล่าว
ภายใต้โครงการ “ฟิลิปส์ เติมยิ้ม สิ่งแวดล้อม” ผู้เข้าร่วมโครงการไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายในการขนส่งซากหลอดฟลูออเรสเซนต์ และค่าใช้จ่ายในกระบวนการบริหารจัดการซากหลอดฟลูออเรสเซนต์ด้วยการนำไปรีไซเคิล นอกจากนี้ฟิลิปส์ไม่ได้กำหนดจำนวนในการที่ผู้เข้าร่วมโครงการจะนำหลอดฟลูออเรสเซนต์มารีไซเคิล แต่ผู้เข้าร่วมโครงการจะต้องซื้อหลอดฟลูออเรสเซนต์ฟิลิปส์ในกลุ่มที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม (Green Lighting Products) นั่นคือ หลอดฟลูออเรสเซนต์ฟิลิปส์ซูเปอร์ขั้วเขียว หรือ ชุดประหยัดไฟ click-2-save เท่ากับจำนวนหลอดที่ต้องการนำไปรีไซเคิล ทั้งนี้เพื่อเป็นการส่งเสริมให้ผู้ประกอบการหันมาใช้หลอดที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม

----------------------------------------------------------------------------------------
การออกแบบเป็นชุดประกอบย่อยและลดการใช้สกรูของเครื่องคอมพิวเตอร์

ยังมีอีกหลายบริษัทที่ใช้การออกแบบเพื่อสิ่งแวดล้อมเช่น บริษัท BMW and Volkswagen ได้ศึกษาการถอดประกอบและการรีไซเคิลวัสดุในรถยนต์ที่สามารถนำกลับมาใช้ใหม่ได้ และได้ตั้งเป้าหมายว่าจะสร้างรถยนต์ด้วยชิ้นส่วนที่สามารถนำกลับมาใช้ใหม่และรีไซเคิลได้ให้ครบ 100 เปอร์เซ็นต์ บริษัท Sun Microsystems, Inc. มีรูปแบบการถอดประกอบชิ้นส่วนที่ง่ายหลากหลายรูปแบบและใช้พลาสติกรีไซเคิลในการผลิตภัณฑ์และยังได้จำกัดโลหะหนักออกจากพลาสติก บรรจุภัณฑ์ หมึกในการพิมพ์คู่มือของผลิตภัณฑ์ บริษัท General Motors Corp. ได้ร่วมกับมหาวิทยาลัยแทนเนสซีพัฒนาโปรแกรมเพื่อติดตามการใช้พลังงานและผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมของชิ้นส่วนทุกชิ้นในรถยนต์ตลอดช่วงอายุการใช้งานโปรแกรมนี้จะช่วยในการเปลี่ยนแปลงการออกแบบเพื่อทำให้ชิ้นส่วนง่ายต่อการรีไซเคิลหรือนำกลับมาใช้ใหม่

การออกแบบเพื่อสื่งแวดล้อมเป็นสิ่งที่ไม่อาจหลีกเลี่ยงได้ในอนาคต ดังนั้นเราจึงควรเตรียมตัวศึกษาและเรียนรู้ไว้แต่เนิ่นๆ เพื่อรับมือกับกฎระเบียบและข้อบังคับต่างๆ จากกลุ่มประเทศพัฒนา เพื่ให้อุตสาหกรรมการผลิตของเราสามารถยืนหยัดและแข่งขันในตลาดโลกได้

Thai Eco-Label


แนวความคิด : อยากจะสื่อถึงสิ่งแวดล้อมเป็นหลัก สื่อถึงธรรมชาติ และความปลอดภัย จึงได้เลือกใช้สีเขียวและ รูปต้นไม้ในการออกแบบ โดยพยายามคงความคิด และความเป็นสากลให้ได้

save the world

แนวความคิด: ถ้าหากว่าโลกเรามีต้นไม้มากขึ้น โลกเราก็จะร้อนน้อยลง อยากจะเน้นไปในทางการปลูกต้นไม้มากกว่า เพราะมันช่วยโลกเราได้หลายทาง ทั้งทางตรงและทางอ้อม

งานปล่อยแสง








เทศกาลปล่อยแสง3 เด็กฉลาด ชาติเจริญ

เป็นงานที่จัดรวมงานออกแบบที่น่าสนใจเข้าไว้ด้วยกัน ภายในงานมีการจัดแสดงงานมากมายล้วนแล้วน่าสนใจ จึงได้หยิบยกผลงานมา 3 ชิ้น โดยชิ้นแรกเป็นการออกแบบตุ๊กตา ชิ้นที่สองเป็นการออกแบบแพคเกจของอุปกรณ์การเรียน ส่วนชิ้นที่สาม เป็นการออกแบบ แพคเกจเช่นเดียวกัน งานออกแบบทั้งสามชิ้นที่เลือกมาเพราะรู้สึกชอบ และมันก็สะดุดตากว่างานชิ้นอื่นๆ

วันพฤหัสบดีที่ 25 มิถุนายน พ.ศ. 2552

HOME เปิดหน้าต่างโลก


เป็นอีกภาพยนตร์สารคดียอดเยี่ยมแห่งปีที่ “ญานน์ อาร์ทูส์-แบร์ทรองด์” นอกจากทำหน้าที่กำกับแล้วยังร่วมเขียนบทพร้อมกับใช้เวลาในการสร้างร่วม 3 ปี เพราะต้องเดินทางหาโลเกชั่นเพื่อถ่ายทำให้ได้ภาพแปลกตากว่า 54 ประเทศ เนื่องจากเป็นภาพยนตร์ที่แสดงออกถึงความรับผิดชอบต่อโลก จึงต้องตระเวนถ่ายทำเพื่อเก็บสต๊อกภาพที่มีความยาวถึง 488 ชั่วโมงแล้วนำมาตัดต่อให้เหลือเพียง 120 นาที
สำหรับภาพยนตร์สารคดีเรื่องเยี่ยม “โฮม (Home) เปิดหน้าต่างโลก” ที่ เอ็มพิคเจอร์ส เตรียมนำ มาให้แฟนๆ ในไทยได้ชมกันเพราะถึงเวลาที่มนุษย์ทุกผู้คนต้องรู้จักปกป้องและรักษาสิ่งแวดล้อมโลกก่อนที่จะสายเกินไป เนื่องจากมนุษย์ได้ทำลายสมดุลธรรมชาติมามากมายแล้ว
สำหรับ การเดินทางเพื่อเสาะหาโลเกชั่นนั้นยังได้รับความร่วมมือจากองค์กรต่าง ๆ ในกรุงปารีสที่จัดหาลูกมือภาคสนามมาร่วมเป็น ส่วนหนึ่งของทีมสร้าง เพราะการถ่ายทำต้องถ่ายทำทั้งบนภาคพื้นดินและบนอากาศโดยใช้เฮลิคอปเตอร์ เพื่อขนผู้กำกับและช่างกล้องพร้อมผู้คุมงานภาพขึ้นไปถ่ายทำบนท้องฟ้าเพื่อ ให้ภาพสมบูรณ์และงดงามชนิดชาวไทยไม่เคยเห็นมาก่อน เป็นการนำเสนอให้รู้ว่าบนโลกของเรายังมีสิ่งที่งดงามอลังการที่มนุษย์เรา ต้องช่วยกันรักษาไว้เพราะโลกใบนี้ก็คือ “บ้าน” ของมนุษย์ทุกคน